เคราร์ด ฟัน โฮนต์ฮอสต์

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งเคราร์ด หรือ แคร์ริต แฮร์มันส์โซน ฟัน โฮนต์ฮอสต์ (ดัตช์: Gerard, Gerrit Hermanszoon van Honthorst; 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1592 - 27 เมษายน ค.ศ. 1656) เป็นจิตรกรชาวดัตช์แห่งเมืองยูเทรกต์ในสมัยยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพเหมือนฟัน โฮนต์ฮอสต์ได้ร่ำเรียนกับอาบราฮัม บลุมาร์ต (Abraham Bloemaert) จิตรกรและช่างพิมพ์ภาพที่เปลี่ยนจากการเขียนแบบตระกูลฟรังก์เกิน (Francken) ไปเป็นการเขียนแบบกึ่งอิตาลีเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เช่นเดียวกับจิตรกรเนเธอร์แลนด์ในขณะนั้นที่ตื่นเต้นกับการการวิวัฒนาการทางจิตรกรรมในแบบอิตาลี ฟัน โฮนต์ฮอสต์เดินทางไปอิตาลีในปี ค.ศ. 1616 และไปเลียนแบบการเขียนแบบธรรมชาติและลักษณะความแปลกประหลาด (eccentricities) ของการาวัจโจ และเดินทางกลับเนเธอร์แลนด์ราวปี ค.ศ. 1620 หลังจากได้รับการฝึกอย่างดีในกรุงโรม เมื่อกลับมาถึงเนเธอร์แลนด์ ฟัน โฮนต์ฮอสต์, ดีร์ก ฟัน บาบือเริน และแฮ็นดริก เตอร์บรึคเคิน ก็ริเริ่มกลุ่มการเขียนแบบการาวัจโจที่ปัจจุบันเรียกกันว่า "การเขียนภาพแบบการาวัจโจ" ในยูเทรกต์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1623 ฟัน โฮนต์ฮอสต์ก็ได้เป็นประธานของสมาคมจิตรกรของยูเทรกต์ที่ซึ่งโฮนต์ฮอสต์แต่งงานกับลูกพี่ลูกน้องกัน โฮนต์ฮอสต์มีชื่อเสียงแพร่หลายจนเซอร์ดัดลีย์ คาร์ลตันผู้เป็นทูตอังกฤษในเดอะเฮกขณะนั้น แนะนำงานเขียนของฟัน โฮนต์ฮอสต์แก่เอิร์ลแห่งแอรันเดลและลอร์ดดอร์ชิสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1626 ฟัน โฮนต์ฮอสต์เขียนภาพเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ เป็นชายผู้ซื่อตรงที่ถูกเสาะหาและพบโดยไดออจินีสเอลิซาเบท สจวร์ต พระราชินีแห่งโบฮีเมีย (Elizabeth of Bohemia) พระขนิษฐาในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ขณะที่ทรงลี้ภัยอยู่ในเนเธอร์แลนด์ทรงให้การสนับสนุนโฮนต์ฮอสต์และทรงขอให้สอนวาดรูปแก่พระโอรสและพระธิดา โฮนต์ฮอสต์จึงเป็นที่รู้จักของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ผู้ที่ทรงเชิญชวนไปอังกฤษในปี ค.ศ. 1628 เมื่อพำนักอยู่ในอังกฤษ โฮนต์ฮอสต์เขียนภาพเหมือนหลายภาพและภาพอุปมานิทัศน์ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่พระราชวังแฮมป์ตันคอร์ตที่พระเจ้าชาลส์และพระราชินีเฮนเรียตตานั่งเป็นแบบเป็นเทพีไดแอนาและเทพอะพอลโลในก้อนเมฆรับจอร์จ วิลเลิร์ส ดุ๊กที่ 1 แห่งบักกิงแฮม ที่เป็นเทพเมอร์คิวรีและผู้พิทักษ์พระโอรสธิดาของพระองค์